แผ่นใยสังเคราะห์ โพลีเอสเตอร์ ชนิดไม่ถักทอ PET Non-woven Geotextiles
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
แผ่นใยสังเคราะห์ GEOTEXTILE เป็นวัสดุที่ผลิตจากเส้นใยพอลิเมอร์ที่พัฒนาคุณสมบัติให้ดีกว่าเส้นใยธรรมชาติ แผ่นใยสังเคราะห์มีลักษณะเป็นผ้าผืนใหญ่ น้ำหนักเบา แผ่นใยสังเคราะห์ที่มีคุณภาพผลิตจากเส้นใยพลาสติกโดยแผ่นใย GEOTEX จะต้องอัดกันเป็นแผ่น ไม่หลุดจากกันง่าย ทนต่อแสงแดด ความร้อน ทนแสงแดด UV แผ่นใยสังเคราะห์มีน้ำหนักและความหนา ที่สามารถเลือกให้เหมาะกับใช้งาน ผลิตด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยจากโรงงานมาตรฐานสากล ทำให้แผ่นใยสังเคราะห์มีความแข็งแรงด้วยกระบวนการเชิงกล กระบวนการทางเคมี รวมถึงกระบวนการทางความร้อน แผ่นใยสังเคราะห์นำมาใช้ในงานวิศวกรรม งานอุตสาหกรรมเกษตร และสิ่งแวดล้อม ใช้ติดตั้งในดิน เส้นใยที่ใช้ผลิตแผ่นใยสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ เช่น พอลิเอสเตอร์ POLYESTER หรือ โพลีพรอพพีลีน POLYPROPYLENE สามารถผลิตได้ตั้งแต่ 100 กรัม/ตารางเมตรขี้นไป
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
แผ่นใยสังเคราะห์ที่นิยมใช้ ผลิตจากเส้นใยพอลิเมอร์ 2 ชนิด คือ
1. โพลีพร็อพพีลีน (Polypropylene) เรียกว่า PP Geotextile
2. โพลิเอสเตอร์ (Polyester) เรียกว่า PET Geotextile
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
ผลิตจากเครื่องจักรแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1) แผ่นใยสังเคราะห์ แบบถักทอ Woven Geotextile
2) แผ่นใยสังเคราะห์ แบบไม่ถักทอ Nonwoven Geotextile โดยแบ่งออกเป็น
- แผ่นใยสังเคราะห์ แบบไม่ถักทอ ชนิดเส้นใยยาวต่อเนื่อง Continouse Filament ยึดตัวด้วยกรรมวิธีเข็มบดอัด Needle Punch
- แผ่นใยสังเคราะห์ แบบไม่ถักทอ เส้นใยสั้น Shot Fibre
ภาพแสดงวัสดุ
แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดถักทอ Woven Geotextile ผลิตจากเส้นใย Polypropylene หรือ Polyester |
แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิดไม่ถักทอ
Non-Woven Geotextile ผลิตจากเส้นใย Polypropylene หรือ Polyester
|
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
หน้าที่ของแผ่นใยสังเคราะห์ :
แผ่นใยสังเคราะห์จะถูกใช้ในงานดิน หิน ทรายหรืองานก่อสร้าง เนื่องจากคุณสมบัติของใยสังเคราะห์สามารถยอมให้น้ำผ่านได้ ทั้งยังนิยมใช้ในการแยกชิ้นส่วนดิน หิน ทราย เพื่อแยกชั้นหรือกรอก แผ่นใยสังเคราะห์จะเสริมผิวหน้าดินให้มีขีดความสามารถในการรับแรงดึงได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น ป้องกันผิวดิน หรือช่วยระบายน้ำ การใช้งานของแผ่นใยสังเคราะห์ได้ดังนี้
- แยกชั้น หรือชั้นของหิน ดิน ทราย (Separation)
- เสริมกำลังชั้นหิน ดิน ทราย ต่าง ๆ (Reinforcement)
- กรองแยกชั้น (Filtration)
- ป้องกันชั้นดิน หรือหน้าดิน (Protection)
- ควบคุมการกัดเซาะชั้นดิน (Erosion Control)
- ป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายตลิ่ง (Bank of river Control)
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
ประเภทงานของแผ่นใยสังเคราะห์ :
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานถนน เช่น ถมดิน หรือกันแนวดิน ที่มีผิวทางและไม่มีผิวทาง หรือชั้นดินเพิ่มเสถียรภาพ (Platform)
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานถมพื้นที่หนองน้ำเดิมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานชลประทาน เช่น อ่างเก็บน้ำ คลอง ถมดิน ชายฝั่งทะเล กำแพงกันดิน หรือเขื่อนดิน
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานชายฝั่งทะเล คุมการกัดเซาะ
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานลานกองเก็บวัสดุหรือวางตู้สินค้า
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำข้างทางหรือใต้ชั้นทาง รวมถึงงานรางรถไฟ
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานปูรองพื้นสนามบิน
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานก่อสร้างจัดสวนบนหลังคาและงานภูมิสถาปัตย์
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานรองพื้นก่อนปู HDPE เพื่อป้องกันการฉีกขาด
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานปูรองพื้นสนามกอล์ฟ
- แผ่นใยสังเคราะห์ใช้ใน งานหุ้มท่อระบายน้ำใต้ดิน SUB DRAINAGE
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
ประโยชน์ของแผ่นใยสังเคราะห์ :
- ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและง่ายต่อการติดตั้งประหยัดค่าก่อสร้าง
- ขนาดม้วนมี ตั้งแต่ กว้าง 2 หรือ 4 เมตร
- ขอบแผ่นใยสังเคราะห์อยู่ทรงไม่เปลี่ยนรูป ช่วยให้เชื่อมต่อแผ่นและวางซ้อนกันได้ง่าย
- ทนความร้อน
- ทนแสงแดด
- ทนต่อสารเคมี
- ทนความชื้น ทนเชื้อรา
- ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปริมาณการใช้กรวดทรายจากธรรมชาติ เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากร
GEOTEXTILE (จีโอเท็กซ์ไทล์ ) แผ่นใยสังเคราะห์ :
การเลือกใช้แผ่นใยสังเคราะห์ ตรวจสอบจากคุณภาพการผลิต ดังนี้ :
1. แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (Mass / Unit Area) มีน้ำหนักต่อพื้นที่ (หน่วย : กรัม/ตารางเมตร)
2 แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (Thickness) ความหนา (หน่วย : มิลลิเมตร)
3. แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (Grab Tensile(MD)) ความต้านทานแรงดึง (หน่วย : นิวตัน)
4. แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (Elongation(MD)), การยืดตัวของวัสดุ (หน่วย : เปอร์เซ็น)
5. แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (Tear Strength(MD)) ความต้านทานแรงฉีกขาด (หน่วย : นิวตัน)
6. แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (Flow Rate) อัตราการซึมผ่าน (หน่วย : ลิตร/วินาที)
7. แผ่นใยสังเคราะห์ Geotextile (CBR) ค่าความต้านทานแรงเจาะทะลุ (หน่วย : นิวตัน)
|